วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

Inside Out

1. สรุปเนื้อเรื่อง Inside Out
       คอนเซปท์ของเรื่องนี้มันเป็นเรื่องของอารมณ์กับการทำงานของสมองทั้ง ความทรงจำระยะสั้นและ ความทรงจำระยะยาวและเป็นเรื่องที่พยายามศึกษาและถ่ายทอด เรื่องเกี่ยวกับอารมณ์ของมนุษย์ พฤติกรรมของมนุษย์ การทำงานของสมอง การเข้าใจเรียนรู้ภาวะซึมเศร้า หรือแม้กระทั่งการเรียนรู้จะยอมรับตัวเอง อย่างน้อยๆ Inside Out ไอเดียของเรื่องค่อนข้างจะน่าทึ่ง มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของไรลีย์ เด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ต้องย้ายบ้านตามพ่อแม่ แล้วหลังจากนั้นก็ประสบปัญหาในการปรับตัวเข้ากับชีวิตใหม่  แต่เบื้องหลังแล้ว ด้านในหัวของไรลีย์ สิ่งที่ตอบสนองต่อสถานการณ์พวกนี้ล้วนเป็นเรื่องของ อารมณ์และการทำงานด้านสมอง ในหนังมีแบ่งตัวที่ควบคุมสมองเป็นอารมณ์ห้าแบบ
- Joy (สุขสันต์ หรือ ลั้ลลา)
- Sadness (เศร้าหมอง)
- Fear (ความกลัว)
- Anger (ความโกรธ)
- Disgust (ขยะแขยง) 


           ทุกสถานการณ์ที่ตัวอารมณ์เหล่านี้ตอบสนอง จะก่อให้เกิดเป็นลูกบอลความทรงจำซึ่งจะไหลมาเก็บไว้ที่ ความทรงจำระยะสั้นซึ่งอยู่ใกล้กับแผงควบคุม อารมณ์ทั้งห้าสามารถหยิบของพวกนี้มาใช้ได้ในทันที หลังจากนั้นลูกบอลบางส่วนจะถูกส่งไปยังสถานที่เก็บ ความทรงจำระยะยาวซึ่งเกี่ยวพันกับการสร้างตัวบุคลิกของตัวไรลีย์ขึ้นมา  และหัวหน้าทีมที่คอยนำ อารมณ์ของไรลีย์ก็คือ ลั๊นลา  แต่แล้ววันหนึ่ง ลั๊นลา กับเศร้าซึม ต้องระหกระเหินออกจากศูนย์บัญชาการ ทำให้ทั้งสามตัวที่เหลือคือ Fear (ความกลัว) , Anger (ความโกรธ)และ Disgus (ความขยะแขยง) เป็นตัวควบคุมศูนย์กลางแทน หลังจากนั้นชีวิตของไรลีย์ย่ำแย่ขึ้นเรื่อยๆ เพราะเธอตอบสนองสถานการณ์ภายนอกด้วยความโกรธ, ความกลัว และความรู้สึกขยะแขยงแทน หลังจากนั้นลั๊นลาก็พยายามหาวิธีกลับสู่ศูนย์กลางเพื่อที่จะทำให้ไรลีย์กลับมามีความสุขดังเดิม และสุดท้ายลั๊นลาและเศร้าซึมก็สามารถกลับมาสู่ศูนย์กลางการควบคุมอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ไรลีย์กลับมามีความสุขดังเดิม และไรลีย์ก็มีการเจริญเติบโตขึ้นจึงทำให้แผงควบคุมศูนย์กลางเพิ่มขนาดใหญ่มากยิ่งขึ้นตามไปด้วย

2.ได้อะไรจากหนังเรื่อง Inside Out
ตอบ  1. คนเราเกิดมาก็ย่อมมีอารมณ์ที่หลากหลายแตกต่างกันไปและทุกอารมณ์ที่เกิดขึ้นมาก็ล้วนมีทั้งประโยชน์และโทษ เช่น
         - ความกลัวทำให้เราระมัดระวังมากขึ้น
         - ความขยะแขยงกับความโกรธ... อย่างน้อยก็ช่วยทำให้เราหลีกเลี่ยงบางอย่างที่เราไม่ชอบ เพื่อจะรักษา ความสุขของเราเอาไว้ได้บ้าง หรือไม่ก็เป็นการบอกกับคนอื่นว่า ฉันไม่พอใจนะ ฉะนั้นช่วยถอยไปห่างๆหรือช่วยเงียบก่อนไหม
         - ความสุขสันต์นั้นไม่ต้องพูดถึง มีประโยชน์เห็นๆ
         - ความเศร้าซึมก็สอนให้เราเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เช่นเห็นคนอกหัก ถึงแม้จะไม่ได้เกิดขึ้นกับตัวเราเองแต่ก็ทำให้เรารู้สึกเห็นใจผู้อื่น
2. ความรู้และความทรงจำต่างๆถ้าเรานำมาคิดหรือใช้บ่อยๆมันก็จะกลายเป็นความจำฝังลึกหรือความจำระยะยาวที่เราจำได้แม่น แต่ความรู้หรือความทรงจำไหนที่เราไม่มีการใช้งานมันก็จะหายและลบไป
3. ภายในตัวของเราก็จะมีโลกแห่งความฝันและจินตนาการของทุกคนที่ใฝ่ฝันต่างๆนาๆและมันเป็นสิ่งที่เราชอบและทำให้เรามีความสุข
4. ยิ่งเราโตขึ้นความคิดและอารมณ์ของเราก็จะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น


3. ดูหนัง Inside Out แล้วเอาไปเปรียบเทียบกับทฤษฎีเชาวน์ปัญญา
   ตอบ 
1. ทฤษฎีของ
เพียเจต์ (Piaget) จากหนังเมื่อไรลีย์มีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ไรลีย์ก็สามารถมีความคิดที่ซับซ้อนและมีเหตุผลมากยิ่งขึ้นกว่าตอนเด็กๆ ตามทฤษฎีของเพียเจต์ก็มีการแบ่งพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กออกเป็นช่วงอายุ และแสดงให้เห็นว่าเมื่อเด็กโตขึ้นเรื่อยๆก็จะมีพัฒนาการทางความคิดที่ดีขึ้น
2. ทฤษฎีของออซูเบล (Ausubel) จากหนังตอนที่มีตัวการ์ตูนที่เป็นเสมือนคนดูแลความสะอาดในเรื่องของความทรงจำถ้าความทรงจำไหนไม่เป็นประโยชน์ก็จะถูกละทิ้งลงถังขยะไป ก็เปรียบเสมือนคนเราตามทฤษฎีของออซูเบล ที่กล่าวว่าถ้าสิ่งนั้นไม่สร้างความหมายให้ต่อผู้เรียนสิ่งนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์
3.ทฤษฎีของคลอสไมเออร์(Klausmeier) ว่าด้วยเรื่องความทรงจำตอนแรกก็จะเก็บเป็นความทรงจำระยะสั้น หลังจากนั้นถ้ามันเป็นสิ่งที่สำคัญต่อเราเราก็จะจำและเป็นความทรงจำระยะยาว เหมือนในหนังInside Out ที่มีการเก็บความทรงจำของไรลีย์แทนลูกแก้วที่ใช้เก็บความทรงจำและเมื่อเป็นครบวันก็จะเอาไปเก็บเป็นความทรงจำระยะยาวต่อไป
4. ความรู้เกี่ยวกับการรู้คิดของตนเอง เป็นการรู้ของแต่ละบุคคลต่อสิ่งที่เรียนรู้มากน้อยเพียงใด ตลอดจนประสบการณ์ ระดับความสามารถ เหมือนที่ไรลีย์มีความสามารถทางด้านกีลาฮ๊อกกี้และมีประสบการณ์ในการเล่นเพราะเล่นมาตั้งแต่เด็กๆ

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม

                                                              ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม
                                                                      (Behavioral  Theories)
           การเรียนรู้เป็นกระบวนการในการพัฒนาความสามารถ และศักยภาพของมนุษย์ในด้าน ต่าง ๆ อาทิ ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านเจตคติ  เป็นต้นซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ได้รับความสนใจจากนักปรัชญาและนักจิตวิทยามาตั้งแต่ในอดีต ซึ่งต่างก็มีแนวคิดหรือทัศนะที่ หลากหลาย และได้พัฒนาไปเป็นรากฐานในการจัดการศึกษาในปัจจุบัน ฉะนั้น  เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาระบบการสอนจึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ในเชิงจิตวิทยา โดยในบทความฉบับนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม” (Learning Theory : Behaviorism) โดยนักจิตวิทยาสามารถแยกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น  2 ประเภท ใหญ่ๆคือ

           1. พฤติกรรมเรสปอนเดนส์ (Respondent Behavior ) เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าก็จะตอบสนองเองตามธรรมชาติ
              2. พฤติกรรมโอเปอเรนต์ (Operant Behavior) เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมาโดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน เรียกว่าทฤษฎีเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ

                   ต่อไปนี้จะเป็นรายละเอียดของทฤษฎีการเรียนรู้





                 1. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classic Conditioning Theory)                     ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น  ผู้ริเริ่มตั้งทฤษฎีนี้เป็นคนแรก คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ต่อมาภายหลังวัตสัน (Watson) ได้นำเอาแนวคิดของพาฟลอฟไปดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น  โดยพาฟลอฟเชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) คือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น เช่น การทดลองกับสุนัขดังต่อไปนี้




                                จากหลักการข้างต้นสามารถสรุปหลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟเป็นแผนผัง ดังนี้
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข = การเรียนรู้

            แนวคิดของวัตสัน (Watson)
                    ทฤษฎีของเขามีลักษณะในการอธิบายเรื่องการเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข (Conditioned emotion)  วัตสัน ได้ทำการทดลองโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว และขณะที่เด็กกำลังจะจับหนูขาว ก็ทำเสียงดังจนเด็กตกใจร้องไห้ หลังจากนั้นเด็กจะกลัวและร้องไห้เมื่อเห็นหนูขาว ต่อมาทดลองให้นำหนูขาวมาให้เด็กดู โดยแม่จะกอดเด็กไว้ จากนั้นเด็กก็จะค่อย ๆ หายกลัวหนูขาว

                2. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ  (Operant  Connectionism Theory)
                แนวคิดของธอร์นไดค์ (Thorndike)             ธอร์นไดค์ได้สร้างสถานการณ์ขึ้นในห้องทดลองเพื่อทดลองให้แมวเรียนเรียนรู้ การเปิดประตูกรงของหีบกลหรือกรงปริศนาออกมากินอาหาร ด้วยการกดคานเปิดประตู  ซึ่งจากผล การทดลองพบว่า



                      ดังนั้น  จากการทดลองจึงสรุปได้ว่า แมวเรียนรู้วิธีการเปิดประตูโดยการกดคานได้ด้วยตนเองจากการเดาสุ่ม หรือแบบลองถูกลองผิด จนได้วิธีที่ถูกต้องที่สุด และพบว่ายิ่งใช้จำนวนครั้งการทดลองมากขึ้นเท่าใด ระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหาคือเปิดประตูกรงออกมาได้ยิ่งน้อยลงเท่านั้น  และจากผลการทดลองดังกล่าว สามารถสรุปเป็นกฎการเรียนรู้ ได้ดังนี้

            กฎการเรียนรู้
                1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้
                     2.  กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อย ๆ
               3. กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) การเรียนรู้และนำไปใช้บ่อย ๆ 
               4. กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect) ได้รับผลที่พึงพอใจ เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้


แนวคิดของสกินเนอร์(Skinner)
             สกินเนอร์มีแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขและสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม เพราะทฤษฎีนี้ต้องการเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม สิ่งสนับสนุนและการลงโทษ โดยพัฒนาจากทฤษฎีของ พาฟลอฟ และธอร์นไดค์  โดยสกินเนอร์มองว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่กระทำต่อสิ่งแวดล้อมของตนเอง  พฤติกรรมของมนุษย์จะคงอยู่ตลอดไป จำเป็นต้องมีการเสริมแรง ซึ่งการเสริมแรงนี้มีทั้ง การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) และการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement)

      การเสริมแรงทางบวก หมายถึง สภาพการณ์ที่ช่วยให้พฤติกรรมโอเปอแรนท์เกิดขึ้นในด้านความที่น่าจะเป็นไปได้
  การเสริมแรงทางลบเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์อาจจะทำให้พฤติกรรมโอเปอแรนท์เกิดขึ้นได้ ในด้านการเสริมแรงนั้น สกินเนอร์ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยได้แยกวิธีการเสริมแรงออกเป็น 2 วิธี คือ
    1. การให้การเสริมแรงทุกครั้ง (Continuous Reinforcement) เป็นการให้การเสริมแรงทุกครั้งที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้          2.  การให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราว (Partial Reinforcement) เป็นการให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราว โดยไม่ให้ทุกครั้งที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยแยกการเสริมแรงเป็นครั้งคราว ได้ดังนี้    
             2.1    เสริมแรงตามอัตราส่วนที่แน่นอน
  2.2    เสริมแรงตามอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน
  2.3    เสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน
  2.4    เสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน