ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม
(Behavioral Theories)
การเรียนรู้เป็นกระบวนการในการพัฒนาความสามารถ
และศักยภาพของมนุษย์ในด้าน ต่าง ๆ อาทิ
ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านเจตคติ เป็นต้นซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ได้รับความสนใจจากนักปรัชญาและนักจิตวิทยามาตั้งแต่ในอดีต
ซึ่งต่างก็มีแนวคิดหรือทัศนะที่ หลากหลาย
และได้พัฒนาไปเป็นรากฐานในการจัดการศึกษาในปัจจุบัน ฉะนั้น
เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาระบบการสอนจึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา
ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ในเชิงจิตวิทยา โดยในบทความฉบับนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับ
“ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม” (Learning
Theory : Behaviorism) โดยนักจิตวิทยาสามารถแยกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2
ประเภท ใหญ่ๆคือ
1.
พฤติกรรมเรสปอนเดนส์ (Respondent Behavior ) เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าก็จะตอบสนองเองตามธรรมชาติ
2. พฤติกรรมโอเปอเรนต์ (Operant Behavior) เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมาโดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน
เรียกว่าทฤษฎีเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ
ต่อไปนี้จะเป็นรายละเอียดของทฤษฎีการเรียนรู้
1. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classic Conditioning Theory) ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น ผู้ริเริ่มตั้งทฤษฎีนี้เป็นคนแรก คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ต่อมาภายหลังวัตสัน (Watson) ได้นำเอาแนวคิดของพาฟลอฟไปดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยพาฟลอฟเชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) คือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น เช่น การทดลองกับสุนัขดังต่อไปนี้
จากหลักการข้างต้นสามารถสรุปหลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟเป็นแผนผัง
ดังนี้
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
= สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข
= การเรียนรู้
แนวคิดของวัตสัน (Watson)
ทฤษฎีของเขามีลักษณะในการอธิบายเรื่องการเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข (Conditioned emotion) วัตสัน
ได้ทำการทดลองโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว และขณะที่เด็กกำลังจะจับหนูขาว
ก็ทำเสียงดังจนเด็กตกใจร้องไห้ หลังจากนั้นเด็กจะกลัวและร้องไห้เมื่อเห็นหนูขาว
ต่อมาทดลองให้นำหนูขาวมาให้เด็กดู โดยแม่จะกอดเด็กไว้ จากนั้นเด็กก็จะค่อย ๆ
หายกลัวหนูขาว
2.
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant Connectionism
Theory)
แนวคิดของธอร์นไดค์ (Thorndike) ธอร์นไดค์ได้สร้างสถานการณ์ขึ้นในห้องทดลองเพื่อทดลองให้แมวเรียนเรียนรู้
การเปิดประตูกรงของหีบกลหรือกรงปริศนาออกมากินอาหาร
ด้วยการกดคานเปิดประตู ซึ่งจากผล การทดลองพบว่า
ดังนั้น
จากการทดลองจึงสรุปได้ว่า แมวเรียนรู้วิธีการเปิดประตูโดยการกดคานได้ด้วยตนเองจากการเดาสุ่ม
หรือแบบลองถูกลองผิด จนได้วิธีที่ถูกต้องที่สุด และพบว่ายิ่งใช้จำนวนครั้งการทดลองมากขึ้นเท่าใด
ระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหาคือเปิดประตูกรงออกมาได้ยิ่งน้อยลงเท่านั้น และจากผลการทดลองดังกล่าว
สามารถสรุปเป็นกฎการเรียนรู้ ได้ดังนี้
กฎการเรียนรู้
1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of
Exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อย ๆ
3. กฎแห่งการใช้ (Law
of Use and Disuse) การเรียนรู้และนำไปใช้บ่อย ๆ
4. กฎแห่งผลที่พึงพอใจ
(Law of Effect) ได้รับผลที่พึงพอใจ เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้
แนวคิดของสกินเนอร์(Skinner)
สกินเนอร์มีแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขและสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
เพราะทฤษฎีนี้ต้องการเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม สิ่งสนับสนุนและการลงโทษ
โดยพัฒนาจากทฤษฎีของ พาฟลอฟ และธอร์นไดค์
โดยสกินเนอร์มองว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่กระทำต่อสิ่งแวดล้อมของตนเอง พฤติกรรมของมนุษย์จะคงอยู่ตลอดไป
จำเป็นต้องมีการเสริมแรง ซึ่งการเสริมแรงนี้มีทั้ง การเสริมแรงทางบวก
(Positive Reinforcement) และการเสริมแรงทางลบ (Negative
Reinforcement)
การเสริมแรงทางบวก
หมายถึง สภาพการณ์ที่ช่วยให้พฤติกรรมโอเปอแรนท์เกิดขึ้นในด้านความที่น่าจะเป็นไปได้
การเสริมแรงทางลบเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์อาจจะทำให้พฤติกรรมโอเปอแรนท์เกิดขึ้นได้
ในด้านการเสริมแรงนั้น สกินเนอร์ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
โดยได้แยกวิธีการเสริมแรงออกเป็น 2 วิธี คือ
1. การให้การเสริมแรงทุกครั้ง (Continuous
Reinforcement) เป็นการให้การเสริมแรงทุกครั้งที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ 2. การให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราว (Partial
Reinforcement) เป็นการให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราว
โดยไม่ให้ทุกครั้งที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยแยกการเสริมแรงเป็นครั้งคราว
ได้ดังนี้
2.1
เสริมแรงตามอัตราส่วนที่แน่นอน
2.2
เสริมแรงตามอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน
2.3
เสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน
2.4
เสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น